Orchestrator หรือ VCO นอกจากคอยบริหารจัดการ (Management Plane) SD-WAN System แล้วยังมีความสามารถในการนำ Data ของ EDGE แต่ละตัวนำมา Analytic ซึ่งหากถ้าเราได้มีโอกาศได้เข้าไปลองเล่น VCO ก็จะพบว่า Menu ค่อนข้างน้อยและ Simple เกิดจากแนวคิดของผู้ร่วมก่อตั้งที่พยายามจะออกแบบ User Interface ให้มีเฉพาะเท่าที่จำเป็นและใช้งานได้ง่ายหรือ User Friendly นั่นเอง โดยเราจะพาท่านไปรับชมกันว่า VCO จะตอบโจทย์เรื่อง Analytic อะไรกันได้บ้าง ไปรับชมกัน
· VMware SD-WAN Quality Score หรือ VQS
· Network Visibility: Link Measurement, Top Application, Top Talker
· Troubleshooting Dashboard
· External Network Monitoring Interface
VMware SD-WAN Quality Score (VQS)
ในหน้าจอนี้แสดงถึงการ Monitor Performance ของ Internet, MPLS, LTE 3/4G ในรูปแบบสีสันที่มีทั้ง เขียว (Good), เหลือง (Fair) และแดง (Poor) พร้อม VeloCloud Enhancement ที่จะแสดงถึงคุณภาพการใช้งานเมื่อถูก Optimization ด้วย DMPO (Dynamic Multi Path Optimization) ซึ่งเป็น Proprietary Technology เพื่อให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้เสถียร แม้เครือข่ายมีปัญหา หรือพูดง่ายๆภาษาบ้านๆ คือ ทำให้ Real Time Protocol, Transfer File สามารถใช้งานดีแม้เกิดสภาวะ Packet Loss, High Latency, High Jitter บนโครงข่าย WAN โดยการวัดค่าของ VQS จะแบ่งการวัดออกเป็น 3 Traffic Type คือ Voice, Video และ Transection
VMware SD-WAN Quality Score VQS
VQS เริ่มทำงานหลังจากเชื่อมต่อ Link Internet, MPLS, LTE 3/4G กับ VMware SD-WAN EDGE ตัวระบบจะสร้าง DMPO Tunnel ระหว่าง SD-WAN EDGE และ Cloud Gateway หลังจากนั้นจะส่ง Packet พิเศษคือ VCMP (VeloCloud Control Management Protocol) เพื่อคอยตรวจสอบคุณภาพ WAN ทุกวงจร หากเกิดสภาวะ WAN Loss, High Latency, High Jitter อุปกรณ์ EDGE จะมี Optimize User Experience ด้วย 2 วิธีคือ
- Link Steering (เป็นการย้ายทราฟฟิคไปยังอีกเส้นทางหนึ่ง ที่ดีกว่า) มีทั้งหมด 3 Options ด้วยกันคือ Mandatory: เจาะจงให้ใช้งานเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง ไม่เปลี่ยนไปเส้นทางอื่นไม่ว่าจะเกิด Blackout/Brownout (Blackout คือ Link Down, Brownout คือ Link Quality ไม่ดีพอกับการใช้งาน Application) Prefered: เลือกเส้นทางที่เราอยากจะให้วิ่ง และสามารถวิ่งไปเส้นอื่นได้หากเกิด Blackout/Brownout Avaiable: เลือกเส้นทางที่อยากจะให้วิ่ง แต่จะย้ายไปเส้นอื่นเมื่อเกิด Blackout เท่านั้น
- Error Collection (เป็นการ Duplicate Packet เพื่อให้มั่นใจว่าปลายทางจะได้รับ Packet เมื่อ WAN Link ทุกวงจร เกิด Packet Loss) หรือ Jitter Buffer
Note: VMware SD–WAN เป็น Per Packet Load Balancing เมื่อทราฟฟิควิ่งผ่าน Overlay (VPN Tunnel/DMPO Tunnel)
Link Steering
VMware SD–WAN Network Visibility
นอกจากนี้ VCO ยังมีความสามารถรายงาน Network Visibility ให้สามารถรู้ถึงการใช้งาน คุณภาพ WAN เราสามารถที่จะเลือกได้ว่าต้องการดู Average Throughput, Byte Transfer, Jitter, Bandwidth, Packet Loss, Latency รวมไปถึงรีพอร์ท Top Application, Top Talker (Source/Destination)
Measure and Report per transport Link
Top Application
Top Talkers
Top Destination
Troubleshooting Dashboard
เป็นอีกหน้าจอหนึ่งที่ช่วยงานเราค่อนข้างมาก เราเพียงแค่เลือก EDGE ที่ต้องการตรวจสอบและกดเมนูซึ่งสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่ ARP Table, DNS Lookup, Restart DNS/DHCP, Bandwidth Test และมี Highlight ด้วยการสามารถเรียก PCAP File ทุก Interface ที่เชื่อมต่อกันได้ ง่ายและสะดวกจริงๆ ขอบอกเลย
Troubleshooting
External Network Monitoring Interface
สำหรับองค์กรที่มี Network Monitoring Tools ก็ยังสามารถเชื่อมต่อกับ VCO และ EDGE เพื่อดึงข้อมูลเพื่อไปบริหารจัดการได้ โดยบน VCO รองรับ RESTful API สามารถนำข้อมูลไปสร้าง Network Topology, Flow metric, Link Quality events เป็นต้น สำหรับ EDGE แล้วสามารถก็รองรับ Netflow, IPFIX, SNMP, SYSLOG ได้เช่นกัน
Highlight ของ External Network Monitoring Interface น่าจะเป็น vRealize Network Insight (vRNI) ซึ่งในระบบไม่ได้มีเพียงแค่ WAN แต่ยังมี Data Center, Cloud และ SD-WAN ซึ่ง vRNI จะทำให้เรามองเห็น End-to-End Path Visibility Across DC/WAN/Cloud ประโยชน์ของ vRNI จะช่วยให้การทำ Capacity Plan ได้ง่ายขึ้น, มีความแข็งแกร่งด้าน Cyber Security พร้อมยังช่วยให้ Troubleshooting ได้รวดเร็วกว่าเดิม
Pingback: VMware SD-WAN Analytic Insight มองเห็นทะลุทะลวงขนาดไหนกัน? - TechTalkThai
Comments are closed.