กว่า 10ปี ที่ผ่านมา VPN มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็น Site to Site, Remote Access, IPSec, SSL, PPTP และ L2TP ด้วยคุณสมบัติ ที่ใช้แค่อินเทอร์เน็ตก็สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้แล้ว
ส่งผลให้ VPN ความจำเป็นที่จะต้องใช้ MPLS/Leased Line ของบางองค์กรลดลง อย่างไรก็ตามก็มีบางองค์กร ที่จำเป็นต้องใช้ VPN เพื่อเป็นเส้นทางสำรองของ MPLS และในยุคเฟื่องฟูของโลกไอพี ส่งผลให้จำนวนแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานภายในองค์กรมีมากขึ้นกว่าเดิม เช่น การโทรศัพท์ผ่านไอพี การประชุมผ่านทางไกล รวมไปถึงการใช้งาน ERP ทำให้องค์กรหลายแห่งที่เคยใช้ VPN แล้วต้องเปลี่ยนไปใช้ MPLS เพื่อต้องการความเสถียร แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเร็วที่ลดลง และราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากเมื่อเทียบกับการทำ VPN
อีกหนึ่งปัญหาของการทำ VPN ในยุคที่ ISP มีการใช้ CGNAT (Carrier Grade Network Translation) ส่งผลให้อุปกรณ์ได้ Private IP Address มีผลต่อการสร้าง VPN Tunnel บ้างก็ Forwarded Port ไม่ได้ บางกรณีก็จะพบเจอ Dynamic DNS ไม่เสถียร ไม่อัพเดทให้ตรงกับไอพีที่ได้รับ เกิดอาการ VPN หลุด และเกิดปัญหาต่อการทำงาน
จุดนี้จึงเกิดคำถามขึ้นมา… เทคโนโลยีไหนที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้?
VeloCloud ผู้นำด้าน SD-WAN ของโลก ได้คิดค้นเทคโนโลยี DMPO ที่สามารถช่วยคุณได้…
DMPO คืออะไร ทำงานอย่าง?
DMPO หรือ Dynamic Multi Path Optimization เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานเพื่อให้การเชื่อมต่อและส่งข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดระหว่าง อุปกรณ์ที่ตั้งอยู่ ณ สำนักงาน (VeloCloud EDGE: VCE) และ VeloCloud Gateway: VCG ทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ควบคุมและเป็นอินเทอร์เน็ตเกตย์เวย์ให้กับ VCE แถมหน่อยคือ VeloCloud Orchestrator: VCO เป็น 100%GUI Centralize Management
DMPO ถูกสร้างขึ้นจากลักษณะเฉพาะตัวของอินเทอร์เน็ตคือ Best Effort จึงได้มีการออกแบบเทคโนโลยีให้มีความทนทานต่อสภาพที่มีความแปรผันของ Latency, Jitter, Packet Loss และ Bandwidth ด้วยวิธี
- Continuous Monitoring ตรวจสอบคุณภาพเส้นทาง โดยตรวจสอบจาก Latency, Jitter, Bandwidth, Packet Loss
- Dynamic App Steering ระบบจะทำการย้ายแพคเกตอัตโนมัติ ในกรณีระบบพบว่าเส้นทางที่ใช้งานอยู่ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน หรือวงจรไม่สามารถใช้งานได้
- On Demand Remediation เมื่อพบว่าทุกวงจรมีคุณภาพไม่เพียงพอต่อการใช้งานระบบจะทำการ ดับเบิ้ลจำนวนแพคเกต และส่งออกไปทุกวงจร เพื่อให้ Critical Application สามารถใช้งานได้อย่างปกติ เช่น VoIP, Video Conference เป็นต้น
SD-WAN ยังทำอะไรได้อีกหลายอย่าง เช่น Rate-Limiting on Application or Category, Per Packet Load Balancing, Business Monitoring, Application Firewall, Centralize Management และ Top Talker เป็นต้น
สรุป SD-WAN ช่วยอะไรคุณได้บ้าง
Assured Application Performance
- ได้ปริมาณแบนวิดมากขึ้น จากการทำ Per Packet Load balancing ของวงจร MPLS, Internet MPLS, Internet Broadband และ Mobile Network เข้าด้วยกัน
- Sub-Second Link Failover และช่วยลดปัญหาการใช้งาน VoIP และ Video Conference ได้
Simplify WAN Management
- บริหารจัดการทุกอย่างได้ผ่านคลาวด์ ทำงานเสร็จไวขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว (Single Pane of Management)
- VPN ได้แม้ได้ Private IP Address
Manage Cloud on-ramp
- ควบคุมทราฟฟิคได้อย่างอิสระ เลือกได้ว่าใช้งานคลาวด์เซอร์วิสผ่านดาต้าเซ็นเตอร์ หรือผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรงเพื่อลดการคอขวดของอินเทอร์เน็ตที่ดาต้าเซ็นเตอร์
- เชื่อมต่อ Cloud Data Center เช่น AWS, AZURE ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องคอนฟิคเพิ่มเติมที่สำนักงานสาขา โดยสามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Cloud Gateway หรือติดตั้ง Virtual EDGE ณ Cloud Data Center ก็ได้เช่นกัน
PROEN INTERNET ร่วมมือกับ VeloCloud network ร่วมให้บริการ SD-WAN as a Service รายแรกในประเทศไทย ติดต่อเราสำหรับการเปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น Dr.Wan@proen.co.th 02-690-3888 www.branchconnect.in.th